นอนนอนร่วมงานเปิดตัว 'คู่มือการปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศสำหรับ SME ในอาเซียน'

ในฐานะผู้ขับเคลื่อนสตาร์ทอัพแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน นพพล เตชะพันธ์งาม ผู้ก่อตั้งและ CEO นอนนอน ได้รับเกียรติจากคอนเน็คติ้ง เฟาน์เดอร์ส (Connecting Founders) ให้เข้าร่วมอภิปรายในหัวข้อ “การบริหารจัดการและกำกับดูแลวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ควรจะปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอย่างไร” (How should the management and governance of SMEs evolve with the changing climate?) ในงานเปิดตัว “คู่มือการปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศสำหรับ SME ในอาเซียน” (Climate Change Guidelines for SMEs in ASEAN) เมื่อวันที่ 9 พ.ค. ที่ผ่านมาที่โรงแรม Pullman Bangkok King Power กรุงเทพฯ 

ทั้งนี้ การอภิปรายดังกล่าวได้ถูกดำเนินโดยแคเทอริน่า เมโลนี่ (Caterina Meloni) ผู้ก่อตั้ง Connecting Founders และมีผู้เข้าร่วมดังนี้

  1. แอนนาเมย์ ทัวซอน (AnnaMae Tuazon) ตัวแทนจากกองทุนการค้าแคนาดา (Canadian Trade Investment Fund)

  2. สแตนลี่ย์ งอ (Stanely Ng) ผู้อำนวยการโครงการ นิว เอเนอร์จี้ เน็กซ์ซัส (New Energy Nexus)

  3. นพพล เตชะพันธ์งาม ผู้ก่อตั้งและ CEO นอนนอน

โดยงานดังกล่าวได้ถูกจัดขึ้นโดยคาร์บอน ทรัสต์ (Carbon Trust) และ Connecting Founders ภายใต้การสนับสนุนจากศูนย์อำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุนเพื่อการพัฒนาของแคนาดา (Canadian Trade and Investment Facility for Development: CTIF) เพื่อเปิดตัวคู่มือดังกล่าวอย่างเป็นทางการเพื่อช่วยเหลือ SME ในภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง SME ที่มีเจ้าของเป็นสตรี ในการพัฒนากลยุทธ์เพื่อยับยั้งและปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ 

คู่มือดังกล่าวได้ถูกพัฒนาขึ้นผ่านโครงการพัฒนาทักษะเชิงเทคนิคที่ได้รับการริเริ่มโดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ภายใต้การสนับสนุนจากสํานักงานเลขาธิการอาเซียนและเงินทุนจาก CTIF ในช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคม 2565 ถึงพฤษภาคม 2566  

คลิก เพื่ออ่านคู่มือฯ 

Nophol Techaphangam
นอนนอนร่วมงานสัมมนาประชาสัมพันธ์รายงาน IPCC ฉบับที่ 6

ในฐานะผู้ประกอบการที่เร่งขับเคลื่อนการบริการในรูปแบบแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้อง นพพล เตชะพันธ์งาม ผู้ก่อตั้งและ CEO ของนอนนอน ได้รับเกียรติจากศูนย์การวิจัยพหุวิชาการประยุกต์ในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคมในซีกโลกใต้ (Centre on South and Southeast Asia Multidisciplinary Applied Research Network on Transforming Societies of Global South: SMARTS) สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (Asian Institute of Technology: AIT) ให้เข้าร่วมอภิปรายในหัวข้อ “มวลชน นโยบาย และการเงินเพื่อความเปลี่ยนแปลง” (People, policy and finance to deliver the change) ในงานสัมมนาประชาสัมพันธ์รายงานประเมินสถานการณ์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ฉบับที่ 6 ของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (International Panel on Climate Change: IPCC) (IPCC Sixth Assessment Report) ที่โรงแรม Pullman Bangkok Grande Sukhumvit กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 28 เม.ย. ที่ผ่านมา

ทั้งนี้ การอภิปรายดังกล่าวได้ถูกดำเนินโดย ศ.ปรียาดาร์ชิ ชูคลา (Prof. Priyadarshi R. Shukla) ประธานร่วม คณะทำงาน IPCC กลุ่ม 3 และอาห์เม็ด อฟรูห์ ราชีด (Ahmed Afruh Rasheed) บรรณาธิการอาวุโส สหภาพกระจายเสียงแห่งเอเชียแปซิฟิก (Asia-Pacific Broadcasting Union) และมีผู้เข้าร่วมดังนี้

  1. ดร.วาเลรี่ แมสซอง-เดลมอท (Dr. Valérie Masson-Delmotte) ประธานร่วม คณะทำงาน IPCC กลุ่ม 1 ผู้อำนวยการวิจัย คณะกรรมการพลังงานปรมาณูและพลังงานทางเลือกฝรั่งเศส (Commissariat à l'Énergie Atomique et aux Énergies Alternatives: CEA) และ นักอุตุนิยมวิทยา ศูนย์ปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม (Laboratoire des Sciences du Climat et de l'Environnement: LSCE)

  2. วินสตัน โชว (Winston Chow) ผู้เขียนรายงาน IPCC

  3. ศ.จอยชรี รอย (Prof. Joyashree Roy) ผู้เขียนรายงาน IPCC และ ผู้อำนวยการ SMARTS

  4. รัชนี จณะวัตร ผู้อำนวยการภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิค บรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ (International Financial Corporation: IFC) 

  5. นพพล เตชะพันธ์งาม ผู้ก่อตั้งและ CEO นอนนอน

โดยงานดังกล่าวได้ถูกจัดขึ้นโดย SMARTS และมีวัตถุประสงค์เพื่อ:

  • ประชาสัมพันธ์ผลการศึกษาหลักจากรายงาน IPCC ฉบับที่ 6 โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย

  • สร้างความร่วมมือระหว่างกลุ่มนักวิจัยและนักปฏิบัติการด้านภูมิอากาศระดับภูมิภาค รัฐบาล ผู้กำหนดนโยบาย ธุรกิจ ภาคประชาสังคม และนักเคลื่อนไหวด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

อนึ่ง รายงาน IPCC ฉบับที่ 6 ได้ถูกเผยแพร่เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยมีเนื้อหาครอบคลุมองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคนิค และเศรษฐกิจและสังคมที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศล่าสุด ผลกระทบและความเสี่ยงต่างๆ ในอนาคตที่เป็นผลพวงของการเปลี่ยนแปลง ตลอดจนแนวทางในการชะลอการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวให้ช้าลง

คลิก เพื่อดูคลิปงานสัมมนา

ดาวน์โหลด สไลด์ที่ใช้ในการสัมมนา

Nophol Techaphangam
ผู้ก่อตั้งนอนนอนเป็นวิทยากรหลักสูตร ‘การพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนด้วยแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน’ ของ THTI

เมื่อวันที่ 28 มี.ค. ที่ผ่านมา นพพล เตชะพันธ์งาม ผู้ก่อตั้งและ CEO ของนอนนอน ในฐานะผู้มีความรู้และประสบการณ์ด้านตลาดทุนในภาคเศรษฐกิจหมุนเวียน ได้รับเกียรติจากสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ (Thailand Textile Institute: THTI) ให้เป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ “กลไกและตลาดทุน Sustainable Finance” โดยการบรรยายดังกล่าวถือเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการภายใต้หลักสูตร “การพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนด้วยแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)” รุ่นที่ 2 ที่มีผู้เข้าร่วมเป็นผู้ประกอบการจากอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มและอุตสาหกรรมอื่นๆ รวม 59 ท่าน จาก 29 หน่วยงาน

ทั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าวได้ถูกจัดขึ้นภายใต้การมอบหมายของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมมาใช้ยกระดับภาคอุตสาหกรรมให้มีการพัฒนาการผลิตอย่างยั่งยืน เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และเป็นหนึ่งในส่วนสำคัญของการขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG Model) อันจะนำไปสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป

Nophol Techaphangam
นอนนอนร่วมงานสัมมนาไทย-ลาตินอเมริกาและแคริบเบียน ครั้งที่ 3

เมื่อวันที่ 24 มี.ค. ที่ผ่านมา นพพล เตชะพันธ์งาม ผู้ก่อตั้งและ CEO ของนอนนอน ได้รับเกียรติให้เข้าร่วมอภิปรายในหัวข้อ “มองผ่านความท้าทาย: ธุรกิจไทยจะสามารถใช้โมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ-หมุนเวียน-สีเขียว (Bio-Circular-Green: BCG) ในการกระชับความร่วมมือระหว่างไทยและลาตินอเมริกาและแคริบเบียน (LAC) ได้อย่างไร” (Looking beyond challenges: How can Thai businesses utilise the BCG Economic Model to enhance Thailand-LAC partnerships?) ในงานสัมมนาไทย-ลาตินฯ ครั้งที่ 3 ที่จัดโดยกรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ กระทรวงการต่างประเทศ ภายใต้ความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับสถานเอกอัครราชทูตประเทศกลุ่มลาตินฯ และ สภาธุรกิจไทย-ลาตินอเมริกา (Thailand-Latin America Business Council) ณ โรงแรมรอยัล ออร์คิด เชอราตัน (Royal Orchid Sheraton) กรุงเทพฯ โดยหัวข้อหลักในการสัมมนาครั้งนี้ คือ “เศรษฐกิจ BCG: หนทางสู่ความร่วมมือที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นระหว่างไทยและ LAC” (BCG Economy: Pathways to enhanced partnerships between Thailand and Latin America and the Caribbean)

ทั้งนี้ การอภิปรายดังกล่าวมีผู้เข้าร่วมดังนี้

  1. ดร.ชนินทร์ ชลิศราพงศ์ ประธานสมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย

  2. นิวัฒน์ อธิวัฒนานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี (CTO) บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน)

  3. รวี บุญสินสุข ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานพัฒนาธุรกิจใหม่และนวัตกรรม บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

  4. ดร.สวนิตย์ บุญญาสุวัฒน์ คณะทำงาน - BCG โมเดล สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 

  5. ชลัมพล โลทารักษ์พงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท วีที การ์เมนท์ จำกัด

  6. นพพล เตชะพันธ์งาม ผู้ก่อตั้งและ CEO บริษัท เซอร์คิวลาร์ริตี จำกัด (“นอนนอน”)

นอกเหนือจากการเข้าร่วมอภิปรายแล้ว นอนนอนยังได้จัดแสดงบริการให้ ‘เช่า’ ที่นอนใหม่ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนของเราในงานฯ และได้รับเกียรติให้การต้อนรับ ดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และเอกอัครราชฑูตอาร์เจนตินา บราซิล ชิลี โคลอมเบีย กัวเตมาลา เม็กซิโก ปานามา และเปรู พร้อมแขกผู้มีเกียรติที่เข้าร่วมงานฯ รวมกว่า 300 ท่าน

อนึ่ง งานดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ที่จะแบ่งปัน

  1. ข้อมูลล่าสุดด้านสถานการณ์ธุรกิจระหว่างไทยและ LAC

  2. ประสบการณ์จากอุตสาหกรรมและธุรกิจที่มีการประยุกต์ใช้โมเดล BCG ในไทยและ LAC

  3. ข้อมูลเชิงลึกด้านความท้าทายด้านโลจิสติกส์ที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าและการลงทุนระหว่างไทยและ LAC และโอกาสที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล (digital transformation) ทั้งในไทยและ LAC

  4. โอกาสในการสร้างเครือข่ายและความร่วมมือระหว่างนักธุรกิจที่สนใจในการค้าและการลงทุนระหว่างไทยและ LAC

คลิก เพื่อดูคลิปสรุปการสัมมนา

คลิก เพื่อดูคลิปการสัมมนา

Nophol Techaphangam
นอนนอนเข้าเป็นสมาชิก Cambridge Cleantech

เมื่อวันที่ 20 มี.ค. ที่ผ่านมา นอนนอนได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเคมบริดจ์ คลีนเท็ค (Cambridge Cleantech) องค์กรศูนย์กลางนวัตกรรมสะอาดระดับโลกที่เชื่อมโยงกับแหล่งนวัตกรรมที่แข็งแกร่งที่สุดของสหราชอาณาจักร ซึ่งรวมถึงเมืองอ๊อกซ์ฟอร์ด (Oxford) และกรุงลอนดอน

เคมบริดจ์ คลีนเท็คเป็นองค์กรที่ให้การสนับสนุนเชิงพาณิชย์แก่บริษัทที่ขับเคลื่อนการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบรับความท้าทายด้านความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมระดับโลก ผ่านการสร้างความร่วมมือระหว่างบริษัทดังกล่าวกับนักการเงิน พันธมิตร และลูกค้าที่จะช่วยนำผลิตภัณฑ์และบริการดังกล่าวเข้าสู่ตลาด พร้อมสร้างอนาคตที่มีความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น

Nophol Techaphangam
นอนนอนร่วมงานแถลงข่าวเปิดตัวการประกวด ‘รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ประจำปี 2566’

เมื่อวันที่ 15 มี.ค. ที่ผ่านมา นพพล เตชะพันธ์งาม ผู้ก่อตั้งและ CEO ของนอนนอน ได้รับเกียรติจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ให้เข้าร่วมงานแถลงข่าวเปิดตัวการประกวด "รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ประจำปี 2566" ในฐานะตัวแทนของนอนนอน ผู้ชนะเลิศรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ประจำปี 2565 ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ประเภทองค์กรเพื่อสังคมและชุมชน พร้อมตัวแทนจากหน่วยงานอื่นที่ได้รับรางวัลประจำปี 2565 อีก 3 ราย 

ทั้งนี้ รางวัลดังกล่าวถือเป็นรางวัลสำหรับนวัตกรอันทรงเกียรติสูงสุดของไทยที่มีขึ้นเพื่อเชิดชูเกียรติคนไทยผู้สร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมที่มีความโดดเด่นและเป็นประโยชน์ต่อประเทศในหลากหลายมิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยการประกวดฯ ปีนี้ได้ถูกจัดขึ้นภายใต้แนวคิด “นวัตกรรมขับเคลื่อนอนาคต” ผู้ที่สนใจสามารถศึกษาคู่มือและส่งผลงานเข้าร่วมประกวดได้ตั้งแต่วันนี้ ถึง 31 พ.ค. นี้ ที่ https://award.nia.or.th

คลิก เพื่อดูคลิปงานแถลงข่าว

Nophol Techaphangam
นอนนอนได้รับการรับรองด้านสิ่งแวดล้อมระดับ ‘บรอนซ์’ จาก UN Climate Neutral Now ประจำปี 2565
 

การปฏิบัติงานเพื่อสิ่งแวดล้อมของนอนนอนในปี 2565 ได้รับการรับรองในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้จากโครงการ Climate Neutral Now ขององค์การสหประชาชาติ (United Nations: UN):

  • ระดับบรอนซ์ (Bronze) ในด้านการวัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จากการประกาศปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของเราในปี 2565 (self-declarataion) 

  • ระดับเงิน (Silver) ในด้านการวางแผนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จากแผนการที่ชัดเจนที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิของเราให้เป็นศูนย์ (Net Zero) อย่างช้าที่สุดภายในปี 2593 

  • ระดับเงิน (Silver) ในด้านการสนับสนุนโครงการที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ผ่านการซื้อคาร์บอนเครดิตจากโครงการผลิตพลังงานชีวมวลมิตรผล (ด่านช้าง) ของ บริษัท มิตรผล ไบโอ-เพาเวอร์ (ด่านช้าง) จำกัด เพื่อชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของเราในปี 2565 ภายใต้ Scope 1 และ 2 และ Partial Scope 3

ซึ่งยังผลให้การปฏิบัติงานเพื่อสิ่งแวดล้อมของนอนนอนในปี 2565 โดยรวมได้รับการรับรองในระดับบรอนซ์จากโครงการดังกล่าว

อนึ่ง นอนนอนได้เป็นสมาชิกโครงการ Climate Neutral Now ของ UN มาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ปี 2563 และมีความมุ่งมั่นที่จะช่วยเริ่มลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของระบบการผลิตและระบบอุปโภคบริโภคผ่านการรับที่นอนของเรากลับมาแยกชิ้นส่วนไปรีไซเคิลภายในอีก 5 ปีข้างหน้าเป็นอย่างช้า

คลิก เพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม

Nophol Techaphangam
นอนนอนในงาน VERSO HACK 2023

เมื่อวันที่ 4 ก.พ. ที่ผ่านมา นพพล เตชะพันธ์งาม ผู้ก่อตั้งและ CEO ของนอนนอนและหนึ่งในผู้ประกอบการสายเศรษฐกิจหมุนเวียนชั้นนำของไทย ได้รับเกียรติจากโรงเรียนนานาชาติเวอร์โซ่ (VERSO International School) ให้เป็น 1 ใน 7 เมนเทอร์ (mentor) ในงาน VERSO HACK 2023

VERSO HACK 2023 เป็นแฮกกาธอน (hackathon) สำหรับนักเรียนอายุตั้งแต่ 13-18 ปีจากโรงเรียนใดก็ได้ในประเทศไทย ที่มีวัตถุประสงค์ที่จะช่วยสร้างทักษะทางเทคโนโลยีและแนวคิดแบบผู้ประกอบการให้กับนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม โดยจากแรงกดดันต่อสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มขึ้นจากการเติบโตของประชากรของโลกและภาวะโลกร้อน ประกอบกับมุมมองด้านความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปในสังคม ทางโรงเรียนได้ตัดสินใจเลือกแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนเป็นธีมหลักของการจัดแฮกกาธอนครั้งนี้ โดยมีแฟชั่นแบบยั่งยืน การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน และการบริหารจัดการขยะจากอาหารและพลาสติกเป็นสามธีมรอง

ในฐานะหนึ่งในเมนเทอร์ ผู้ก่อตั้งและ CEO ของเราได้นำประสบการณ์จากการทำงานจริงไปช่วยให้คำแนะนำและสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักเรียนที่กำลังจะเริ่มต้นเดินทางบนเส้นทางสตาร์ทอัพและการเป็นผู้ประกอบการที่จะช่วยสร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมให้กับโลกของเรา 

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม ไปที่ VERSO HACK 2023

Nophol Techaphangam
นอนนอนในงานปีใหม่ของชมรมบัวหลวง SME

นพพล เตชะพันธ์งาม ผู้ก่อตั้งและ CEO ของนอนนอน ได้รับเกียรติจากชมรมบัวหลวงเอสเอ็มอีของธนาคารกรุงเทพ ให้เป็นวิทยากรแบ่งปันแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนและบริการให้ ‘เช่า’ ที่นอนของนอนนอนให้กับสมาชิกของชมรมฯ ในงานปีใหม่ประจำปีเมื่อวันที่ 23 ธันวาคมที่ผ่านมา ณ สำนักงานใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ กรุงเทพฯ 

Nophol Techaphangam
ผู้ก่อตั้งและ CEO นอนนอนได้รับ ‘รางวัลทายาทธุรกิจดีเด่น ปี 2565’ จาก สธวท.-กรุงเทพฯ

ในฐานะทายาทรุ่นที่ 4 ของธุรกิจที่นอนและเครื่องนอนชั้นนำของไทยที่มีประวัติอันยาวนานกว่า 90 ปี และในฐานะผู้ก่อตั้งและ CEO ของนอนนอน แพลตฟอร์มให้บริการ ‘เช่า’ ที่นอนแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนรายแรกของโลก นพพล เตชะพันธ์งาม เป็นหนึ่งใน 17 ผู้ได้รับรางวัลทายาทธุรกิจดีเด่น ประจำปี 2565 จาก สมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทย-กรุงเทพฯ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ (สธวท.-กรุงเทพฯ) โดยมีคุณหญิงณัฐิกา วัธนเวคิน อังอุบลกุล ประธาน สหพันธ์สมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ (สสธวท.) เป็นผู้มอบรางวัลฯ ในงานกาล่าเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ฉลองการครบรอบ 58 ปีของสมาคมฯ เมื่อวันที่ 14 ธ.ค. ที่ผ่านมา

ทั้งนี้ ทางสมาคมฯ ได้จัดให้มีการมอบรางวัลทายาทธุรกิจดีเด่นขึ้น เพื่อเป็นเกียรติแก่ทายาทธุรกิจชั้นนำของไทยที่มีความโดดเด่นและความกตัญญูในการสานต่อกิจการของวงศ์ตระกูล 

อนึ่ง สธวท.-กรุงเทพฯ เป็นแกนหลักของ สสธวท. สหพันธ์ที่ถูกจัดตั้งขึ้นในปี 2516 เพื่อ “ส่งเสริมมิตรภาพและความเข้าใจซึ่งกันและกันในบรรดาสตรีนักธุรกิจและสตรีผู้ใช้วิชาชีพของประเทศไทย และเชิดชูเกียรติและยกสถานภาพของสตรีที่ประกอบอาชีพในด้านต่างๆ ทุกระดับ ตลอดจนเพื่อให้การปฎิบัติงานและธุรกิจต่างๆ ได้มาตรฐาน พร้อมบริการสังคมในด้านที่เกี่ยวกับธุรกิจและวิชาชีพให้ดียิ่งขึ้น และเพื่อให้สตรีนักธุรกิจและสตรีวิชาชีพตระหนักในหน้าที่ของตน ร่วมใจกันใช้ความรู้ความสามารถให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมทั้งในระดับประเทศและระดับโลก” และ สสธวท. นั้นเป็นสมาชิกสมทบของ สหพันธ์สมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพสากล (International Federation of Business and Professional Women: BPW International)

Nophol Techaphangam
นอนนอนในรายการ 'Thinking Network'

นพพล เตชะพันธ์งาม ผู้ก่อตั้งและ CEO นอนนอน เล่าให้ ธันยวัชร์ ไชยตระกูลชัย ฟังว่านอนนอนช่วยให้ผู้ใช้ที่นอนเข้าถึงที่นอนคุณภาพสูงได้ง่ายขึ้น พร้อมร่วมรักษ์สิ่งแวดล้อมตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนได้อย่างไร

ออกอากาศทาง สถานีวิทยุคลื่นความคิด FM96.5 วันที่ 22 พฤศจิกายน 2565

คลิก เพื่อดู

Nophol Techaphangam
การประชุมเชิงปฏิบัติการนวัตกรรมเชิงระบบหมุนเวียนสำหรับขยะพลาสติก ปี 2565

เมื่อวันที่ 1-2 พ.ย. ที่ผ่านมา สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (University of Cambridge) และนอนนอน (ภายใต้ บริษัท เซอร์คิวลาร์ริตี จำกัด) ได้ร่วมกันจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการนวัตกรรมเชิงระบบหมุนเวียนสำหรับขยะพลาสติก (Circular Systems Innovation for Plastic Waste Workshop) ครั้งแรกขึ้น ณ โรงแรมโนโวเทล กรุงเทพ สยามสแควร์ กรุงเทพฯ ในรูปแบบไฮบริด (hybrid) เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจสนับสนุนระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนสำหรับผลิตภัณฑ์พลาสติกได้รับความรู้และมุมมองด้านความท้าทายและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการขยะพลาสติกที่ยั่งยืนในรูปแบบเศรษฐกิจหมุนเวียนจากวิทยากรชั้นนำจากทั้งในไทยและประเทศอื่นๆ ในเอเชียและยุโรป รวมถึงได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ที่สนใจในประเด็นดังกล่าว โดยมีเนื้อหาครอบคลุมหัวข้อดังต่อไปนี้

  • เศรษฐกิจหมุนเวียนสำหรับผลิตภัณฑ์พลาสติก

  • การปิดช่องโหว่ในระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนสำหรับขยะพลาสติก

  • วัสดุและการผลิตที่ยั่งยืน

  • นวัตกรรมการรีไซเคิลและอัพไซเคิลขยะพลาสติก

  • นโยบายด้านการจัดการขยะพลาสติกและการยอมรับจากสังคม

โดยการประชุมฯ ได้รับเกียรติจากวิทยากรดังต่อไปนี้มาทำการบรรยาย

การประชุมครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมฯ เป็นตัวแทนจากองค์กรต่างๆ จากทั้งในและต่างประเทศกว่า 40 องค์กร และได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณจากราชวิศวกรรมศาสตร์บัณทิตยสถานแห่งสหราชอาณาจักร (UK Royal Academy of Engineering) ผ่านโครงการ “Engineering X Transforming Systems through Partnership” สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และ บริษัท เซอร์คิวลาร์ริตี จำกัด พร้อมได้รับการสนับสนุนการจัดงานจากมหาวิทยาลัยเกาหลี (Korea University) โดยถือเป็นการประชุมลักษณะนี้ครั้งแรกของไทย และเป็นส่วนหนึ่งของ โครงการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีในการอัพไซเคิลฟองน้ำของนอนนอน ที่มี AIT เป็นผู้นำโครงการ

คลิก เพื่อชมเทปบันทึกการประชุมฯ

Nophol Techaphangam
นอนนอนบนเพจบุรินทร์ เจอนี่

จากแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนสู่แพลตฟอร์มให้บริการเช่าที่นอน นพพล เตชะพันธ์งาม ผู้ก่อตั้งและ CEO นอนนอน เล่าให้ บุรินทร์ เจอนี่ ฟังถึงที่มาที่ไปของนอนนอน

คลิก เพื่อดู

Nophol Techaphangam
นอนนอนในการประชุมประจำสัปดาห์ของสโมสรโรตารีกรุงเทพ

นพพล เตชะพันธ์งาม ผู้ก่อตั้งและ CEO ของนอนนอน ได้รับเกียรติจาก สโมสรโรตารีกรุงเทพ (Rotary Club of Bangkok) สโมสรโรตารีที่เก่าแก่ที่สุดของไทย ให้เป็นวิทยากรแบ่งปันแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนและบริการให้เช่าที่นอนของนอนนอน ภายใต้หัวข้อ “สู่ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมด้วยที่นอนในรูปแบบของการบริการ” (Towards Environmental Sustainability with Mattress-As-A-Service) ในการประชุมประจำสัปดาห์ของสโมสรฯ เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ณ โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพฯ

Nophol Techaphangam
นอนนอนชนะเลิศรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ปี 2565

จาก 504 ผลงานนวัตกรรมที่ได้รับการส่งเข้าร่วมประกวดรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ประจำปี 2565 บริการให้ ‘เช่า’ ที่นอนภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนของนอนนอน ในนาม บริษัท เซอร์คิวลาร์ริตี จำกัด ได้รับ รางวัลชนะเลิศ ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ประเภทองค์กรเพื่อสังคมและชุมชน 

รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติถือเป็นรางวัลอันทรงเกียรติสูงสุดในแวดวงนวัตกรรมไทยที่ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) มอบให้นวัตกรไทยที่ริเริ่มสร้างสรรค์ผลงานที่มีความโดดเด่นและเกิดคุณค่าที่ชัดเจนต่อประเทศชาติในหลากหลายด้าน โดยมีการจัดประกวดรางวัลฯ ทุกปีนับตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา โดยในปีนี้ ได้มีการมอบรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติใน 5 ด้านด้วยกัน ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการ ด้านสื่อและการสื่อสาร และด้านองค์กรนวัตกรรมดีเด่น โดยมีผลงานที่ได้รับรางวัลรวม 44 ผลงาน

คลิก เพื่อดูผลงานอื่นๆ ที่ได้รับรางวัล

Nophol Techaphangam
นอนนอนในงานประชุมรัฐมนตรีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเอเปค ครั้งที่ 28 และการประชุมคณะทำงานวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเอเปค ครั้งที่ 54

เมื่อวันที่ 5-10 กันยายนที่ผ่านมา นอนนอนได้รับเกียรติจาก สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ให้นำบริการ ‘เช่า’ ที่นอนใหม่ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนของเราไปจัดแสดงในงานประชุมรัฐมนตรีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเอเปค ครั้งที่ 28 (28th APEC SME Ministerial Meeting) และการประชุมคณะทำงานวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเอเปค ครั้งที่ 54 (54th APEC SME Working Group Meeting) ที่ จ. ภูเก็ต พร้อมกับธุรกิจแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนและธุรกิจเพื่อสังคมขนาดกลางและขนาดย่อมชั้นนำของไทยอื่นๆ อีก 19 ราย เพื่อแสดงศักยภาพและความพร้อมของประเทศไทยในการไปสู่การพัฒนาด้วยโมเดลเศรษฐกิจ “ชีวภาพ-หมุนเวียน-รักษ์สิ่งแวดล้อม” (Bio-Circular-Green: BCG) ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของการประชุมระดับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิคครั้งนี้ 

คลิก เพื่ออ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

Nophol Techaphangam
นอนนอนในงาน Demo Day ของ Circular Economy Accelerator รุ่นที่ 3

เมื่อวันที่ 9 กันยายนที่ผ่านมา นอนนอนเป็นหนึ่งใน 27 สตาร์ทอัพที่ดำเนินธุรกิจภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนจากทั่วโลกที่ได้นำเสนอรูปแบบธุรกิจให้กับตัวแทนระดับสูงจากบริษัทและสถาบันชั้นนำของรัฐนอร์ธไรน์-เวสท์ฟาเลีย (North Rhine-Westphalia) อาทิ Bayer, Franz Haniel & Cie., GEFA BANK, Siemens, Vorwerk และ Wuppertal Institute รวมกว่า 100 ท่าน ณ เมืองวุปเปอร์ทัล (Wuppertal) ประเทศเยอรมนี โดยการนำเสนอดังกล่าวถือเป็นจุดสิ้นสุดของ โครงการ Circular Economy Accelerator รุ่นที่ 3 ที่เกิดขึ้นในช่วง 3 เดือนก่อนหน้า

โครงการ Circular Economy Accelerator ได้รับเงินทุนสนับสนุนจากสหภาพยุโรปและรัฐนอร์ธไรน์-เวสท์ฟาเลีย ประเทศเยอรมนี และได้รับการจัดขึ้นโดย มูลนิธิเซอร์คิวลาร์วัลเล่ย์ (Circular Valley Foundation) โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะร่วมสนับสนุนแผนการปฏิรูปสีเขียว (European Green Deal) และแผนปฏิบัติการเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy Action Plan) ของสหภาพยุโรปที่มีเป้าหมายที่จะลดและกำจัดมลภาวะทุกรูปแบบ และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสหภาพยุโรปลงร้อยละ 50-55 ภายในปี 2573

ทั้งนี้ นอนนอนได้ใช้โอกาสในการเข้าร่วมโครงการฯ สร้างความสัมพันธ์กับสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชั้นนำ นักพัฒนาเทคโนโลยี และผู้ลงทุนทั้งในเยอรมนีและสหภาพยุโรปเพื่อเตรียมความพร้อมในการพัฒนาและขยายธุรกิจของเราในอนาคตอันใกล้

คลิก เพื่อดูคลิปบันทึกการนำเสนอรูปแบบธุรกิจของทั้ง 27 สตาร์ทอัพ (การนำเสนอของนอนนอนเริ่มต้นที่ 2:15:38)

Nophol Techaphangam
นอนนอนในงานประชุมนำเสนอผลงานและสร้างเครือข่าย โครงการ TSPP

นอนนอนได้รับเกียรติจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ให้ร่วมแบ่งปันประสบการณ์จากการได้รับเงินทุนสนับสนุนจากราชวิศวกรรมศาสตร์บัณทิตยสถาน (Royal Academy of Engineering) สหราชอาณาจักร ผ่าน โครงการ Engineering X Transforming Systems through Partnership (TSPP) เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีอัพไซเคิล (upcycle) ซากฟองน้ำที่จะมาจากที่นอนที่พ้นสภาพการใช้งานแล้วที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในงานประชุมนำเสนอผลงานและสร้างเครือข่ายโครงการ TSPP ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 8 ก.ย. ที่ผ่านมา

อนึ่ง โครงการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีอัพไซเคิลซากฟองน้ำของนอนนอนได้รับการดำเนินการโดยสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (Asian Institute of Technology) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (University of Cambridge) และมีกำหนดแล้วเสร็จถึงระดับความพร้อมของเทคโนโลยีระดับ 4 (TRL 4) ในสิ้นปี 2566

อ่านเพิ่ม

Nophol Techaphangam
นอนนอนในซีรีส์งานเสวนาออนไลน์ เรื่อง เศรษฐกิจหมุนเวียน ของธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB)

เมื่อวันที่ 26 ก.ค. ที่ผ่านมา นพพล เตชะพันธ์งาม ผู้ก่อตั้งและ CEO ของนอนนอน ในฐานะผู้มีส่วนสําคัญในการผลักดันให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียนในประเทศไทย ได้รับเกียรติจาก STEAM Platform ให้เข้าร่วมเสวนาออนไลน์ในหัวข้อ “กรณีศึกษาจากรูปแบบธุรกิจแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน: กลไก โอกาส และความท้าทาย” ร่วมกับผู้ก่อตั้งธุรกิจแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนจากไต้หวันและสิงคโปร์

ทั้งนี้ งานเสวนาดังกล่าวนับเป็นส่วนหนึ่งของซีรีส์งานเสวนาออนไลน์ เรื่อง เศรษฐกิจหมุนเวียน ของ ธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) ที่มีขึ้นเพื่อให้ความรู้และมุมมองด้านการทำธุรกิจแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนกับผู้กำหนดนโยบายและนักลงทุน

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม แวะชม STEAM Platform

Nophol Techaphangam
Impact Shakers ยกให้นอนนอนเป็นหนึ่งในสตาร์ทอัพที่น่าจับตามอง

เมื่อวันที่ 5 ก.ค. ที่ผ่านมา Impact Shakers ได้ยกให้นอนนอนเป็น “หนึ่งในสตาร์ทอัพที่สร้างความเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกที่น่าจับตามอง” (“Impact Startups to Watch”) ร่วมกับสตาร์ทอัพอีก 5 รายจากทั่วโลกที่ให้บริการหรือจำหน่ายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการนอน

“คุณภาพการนอนมีผลกระทบอย่างใหญ่หลวงไม่เฉพาะต่อสุขภาพของเราเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อความเป็นอยู่ที่ดีโดยรวม และประสิทธิผลและความสามารถในการปฏิบัติงานของเราอีกด้วย อย่างไรก็ดี ผลการศึกษาล่าสุดพบว่า 62% ของผู้ใหญ่ทั่วโลกนอนหลับไม่สบาย การนอนหลับไม่สนิทถือเป็นเรื่องปกติจนทำให้ตลาดผลิตภัณฑ์และบริการที่เกี่ยวข้องกับการนอนถูกคาดการณ์ว่าจะมีมูลค่าสูงถึง 585 พันล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2567 (ข้อมูลจาก Statista)” Impact Startups กล่าว

คลิก เพื่อดูรายละเอียดเกี่ยวกับสตาร์ทอัพรายอื่นๆ

Nophol Techaphangam