นอนนอนร่วมงานสัมมนาไทย-ลาตินอเมริกาและแคริบเบียน ครั้งที่ 3

เมื่อวันที่ 24 มี.ค. ที่ผ่านมา นพพล เตชะพันธ์งาม ผู้ก่อตั้งและ CEO ของนอนนอน ได้รับเกียรติให้เข้าร่วมอภิปรายในหัวข้อ “มองผ่านความท้าทาย: ธุรกิจไทยจะสามารถใช้โมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ-หมุนเวียน-สีเขียว (Bio-Circular-Green: BCG) ในการกระชับความร่วมมือระหว่างไทยและลาตินอเมริกาและแคริบเบียน (LAC) ได้อย่างไร” (Looking beyond challenges: How can Thai businesses utilise the BCG Economic Model to enhance Thailand-LAC partnerships?) ในงานสัมมนาไทย-ลาตินฯ ครั้งที่ 3 ที่จัดโดยกรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ กระทรวงการต่างประเทศ ภายใต้ความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับสถานเอกอัครราชทูตประเทศกลุ่มลาตินฯ และ สภาธุรกิจไทย-ลาตินอเมริกา (Thailand-Latin America Business Council) ณ โรงแรมรอยัล ออร์คิด เชอราตัน (Royal Orchid Sheraton) กรุงเทพฯ โดยหัวข้อหลักในการสัมมนาครั้งนี้ คือ “เศรษฐกิจ BCG: หนทางสู่ความร่วมมือที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นระหว่างไทยและ LAC” (BCG Economy: Pathways to enhanced partnerships between Thailand and Latin America and the Caribbean)

ทั้งนี้ การอภิปรายดังกล่าวมีผู้เข้าร่วมดังนี้

  1. ดร.ชนินทร์ ชลิศราพงศ์ ประธานสมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย

  2. นิวัฒน์ อธิวัฒนานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี (CTO) บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน)

  3. รวี บุญสินสุข ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานพัฒนาธุรกิจใหม่และนวัตกรรม บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

  4. ดร.สวนิตย์ บุญญาสุวัฒน์ คณะทำงาน - BCG โมเดล สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 

  5. ชลัมพล โลทารักษ์พงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท วีที การ์เมนท์ จำกัด

  6. นพพล เตชะพันธ์งาม ผู้ก่อตั้งและ CEO บริษัท เซอร์คิวลาร์ริตี จำกัด (“นอนนอน”)

นอกเหนือจากการเข้าร่วมอภิปรายแล้ว นอนนอนยังได้จัดแสดงบริการให้ ‘เช่า’ ที่นอนใหม่ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนของเราในงานฯ และได้รับเกียรติให้การต้อนรับ ดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และเอกอัครราชฑูตอาร์เจนตินา บราซิล ชิลี โคลอมเบีย กัวเตมาลา เม็กซิโก ปานามา และเปรู พร้อมแขกผู้มีเกียรติที่เข้าร่วมงานฯ รวมกว่า 300 ท่าน

อนึ่ง งานดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ที่จะแบ่งปัน

  1. ข้อมูลล่าสุดด้านสถานการณ์ธุรกิจระหว่างไทยและ LAC

  2. ประสบการณ์จากอุตสาหกรรมและธุรกิจที่มีการประยุกต์ใช้โมเดล BCG ในไทยและ LAC

  3. ข้อมูลเชิงลึกด้านความท้าทายด้านโลจิสติกส์ที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าและการลงทุนระหว่างไทยและ LAC และโอกาสที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล (digital transformation) ทั้งในไทยและ LAC

  4. โอกาสในการสร้างเครือข่ายและความร่วมมือระหว่างนักธุรกิจที่สนใจในการค้าและการลงทุนระหว่างไทยและ LAC

คลิก เพื่อดูคลิปสรุปการสัมมนา

คลิก เพื่อดูคลิปการสัมมนา

Nophol Techaphangam