นอนนอนร่วมงานสัมมนาประชาสัมพันธ์รายงาน IPCC ฉบับที่ 6

ในฐานะผู้ประกอบการที่เร่งขับเคลื่อนการบริการในรูปแบบแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้อง นพพล เตชะพันธ์งาม ผู้ก่อตั้งและ CEO ของนอนนอน ได้รับเกียรติจากศูนย์การวิจัยพหุวิชาการประยุกต์ในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคมในซีกโลกใต้ (Centre on South and Southeast Asia Multidisciplinary Applied Research Network on Transforming Societies of Global South: SMARTS) สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (Asian Institute of Technology: AIT) ให้เข้าร่วมอภิปรายในหัวข้อ “มวลชน นโยบาย และการเงินเพื่อความเปลี่ยนแปลง” (People, policy and finance to deliver the change) ในงานสัมมนาประชาสัมพันธ์รายงานประเมินสถานการณ์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ฉบับที่ 6 ของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (International Panel on Climate Change: IPCC) (IPCC Sixth Assessment Report) ที่โรงแรม Pullman Bangkok Grande Sukhumvit กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 28 เม.ย. ที่ผ่านมา

ทั้งนี้ การอภิปรายดังกล่าวได้ถูกดำเนินโดย ศ.ปรียาดาร์ชิ ชูคลา (Prof. Priyadarshi R. Shukla) ประธานร่วม คณะทำงาน IPCC กลุ่ม 3 และอาห์เม็ด อฟรูห์ ราชีด (Ahmed Afruh Rasheed) บรรณาธิการอาวุโส สหภาพกระจายเสียงแห่งเอเชียแปซิฟิก (Asia-Pacific Broadcasting Union) และมีผู้เข้าร่วมดังนี้

  1. ดร.วาเลรี่ แมสซอง-เดลมอท (Dr. Valérie Masson-Delmotte) ประธานร่วม คณะทำงาน IPCC กลุ่ม 1 ผู้อำนวยการวิจัย คณะกรรมการพลังงานปรมาณูและพลังงานทางเลือกฝรั่งเศส (Commissariat à l'Énergie Atomique et aux Énergies Alternatives: CEA) และ นักอุตุนิยมวิทยา ศูนย์ปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม (Laboratoire des Sciences du Climat et de l'Environnement: LSCE)

  2. วินสตัน โชว (Winston Chow) ผู้เขียนรายงาน IPCC

  3. ศ.จอยชรี รอย (Prof. Joyashree Roy) ผู้เขียนรายงาน IPCC และ ผู้อำนวยการ SMARTS

  4. รัชนี จณะวัตร ผู้อำนวยการภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิค บรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ (International Financial Corporation: IFC) 

  5. นพพล เตชะพันธ์งาม ผู้ก่อตั้งและ CEO นอนนอน

โดยงานดังกล่าวได้ถูกจัดขึ้นโดย SMARTS และมีวัตถุประสงค์เพื่อ:

  • ประชาสัมพันธ์ผลการศึกษาหลักจากรายงาน IPCC ฉบับที่ 6 โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย

  • สร้างความร่วมมือระหว่างกลุ่มนักวิจัยและนักปฏิบัติการด้านภูมิอากาศระดับภูมิภาค รัฐบาล ผู้กำหนดนโยบาย ธุรกิจ ภาคประชาสังคม และนักเคลื่อนไหวด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

อนึ่ง รายงาน IPCC ฉบับที่ 6 ได้ถูกเผยแพร่เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยมีเนื้อหาครอบคลุมองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคนิค และเศรษฐกิจและสังคมที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศล่าสุด ผลกระทบและความเสี่ยงต่างๆ ในอนาคตที่เป็นผลพวงของการเปลี่ยนแปลง ตลอดจนแนวทางในการชะลอการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวให้ช้าลง

คลิก เพื่อดูคลิปงานสัมมนา

ดาวน์โหลด สไลด์ที่ใช้ในการสัมมนา

Nophol Techaphangam