เจาะโมเดลธุรกิจแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน “นอนนอน” แพลตฟอร์มให้เช่าที่นอนใหม่สำหรับธุรกิจที่พักรายแรกของโลก ตอบโจทย์แก้ปัญหาการจัดการขยะ ช่วยผู้ประกอบการเข้าถึงที่นอนคุณภาพดี
เจาะโมเดลธุรกิจแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน “นอนนอน” แพลตฟอร์มให้เช่าที่นอนใหม่
รู้จัก “นอนนอน” แพลตฟอร์มให้เช่าที่นอน ใช้ คืน รีไซเคิล
เจาะโมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียน “นอนนอน” แพลตฟอร์มให้เช่าที่นอนใหม่รายแรกของโลก
“นอนนอน” บริการที่นอนเช่า สตาร์ทอัพเศรษฐกิจหมุนเวียน
เนื่องด้วยนอนนอนได้มีความคิดริเริ่มที่จะระดมทุนผ่านการออกตราสารหนี้สีเขียว (green bond) ในประเทศไทยเพื่อสนับสนุนการขยายธุรกิจ นพพล เตชะพันธ์งาม ผู้ก่อตั้งและ CEO ของเรา ได้รับเกียรติให้เป็นวิทยากรในหัวข้อ “ตราสารหนี้สีเขียว (Green Bond) ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน” ในงาน “Circular Economy (CE) Innovation Policy Forum: กลุ่มการเงินและตลาดทุน” ที่จัดโดย สมาคมส่งเสริมการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน (ประเทศไทย) (SCP Association (Thailand)) ร่วมกับ ศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Move Thailand) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผ่านทางช่องทางออนไลน์ เมื่อวันศุกร์ที่ 6 ส.ค. ที่ผ่านมา โดยมี ผศ.ดร.ธีรวุฒิ ศรีพินิจ จากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ พิมพรรณ ดิศกุล ณ อยุธยา ตัวแทนจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เข้าร่วมเป็นวิทยากรในหัวข้ออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย
ทั้งนี้ การประชุมดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาแนวทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนระหว่าง สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) และ สมาคมส่งเสริมการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน (ประเทศไทย) ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนา “Circular Economy Innovation Policy Forum” ให้เป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และระดมความคิดเห็นให้เกิดการตั้งประเด็นเพื่อให้เกิดการบูรณาการและขับเคลื่อนภาคส่วนของไทยสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน และ (2) พัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายด้านการสร้างนวัตกรรมเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy Innovation Policy) ในช่วงเดือนมิถุนายน - ตุลาคม ปีนี้
คลิก ที่นี่ สำหรับบทสรุปการประชุมครั้งนี้
นพพล เตชะพันธ์งาม กำลังทำให้การนอนเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น มาดูกันว่าเขาทำอย่างไร
Circular Economy - เมื่อธุรกิจเล็กพร้อมเปลี่ยนโลก
บริการเช่าที่นอนแบบรายเดือน ใช้ครบจบด้วยการหมุนเวียนแยกชิ้นส่วนรีไซเคิล
นพพล เตชะพันธ์งาม ผู้ก่อตั้งและ CEO นอนนอน ในนิตยสาร Futurist ฉบับเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม 2564
คลิก ที่นี่ เพื่ออ่านนิตยสารฉบับเต็ม
นอนนอนได้รับคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 100 ธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคมจากธุรกิจกว่า 1,000 รายจากบอตสวานา กานา อินเดีย อินโดนีเซีย มาลาวี แอฟริกาใต้ ไทย ยูกันดา และแซมเบีย ที่เข้ารอบพิจารณา รางวัล SEED ปี 2564 ซึ่งเป็นรางวัลประจำปีสำหรับกิจการเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคมที่มีนวัตกรรมและศักยภาพสูงสุดที่มีผู้นำเป็นผู้ประกอบการท้องถิ่นในประเทศกำลังพัฒนาและตลาดเกิดใหม่ (emerging markets) ที่ถูกจัดขึ้นโดย โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) และ องค์กรระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) ตั้งแต่ปี 2545
ทั้งนี้ ผลการพิจารณารางวัลรอบชิงชนะเลิศจะถูกประกาศในช่วงไตรมาส 3 ปีนี้
นอนนอนได้รับเงินทุนสนับสนุนจำนวนประมาณ 9 แสนบาทจาก สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) โดย หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) เพื่อประเมินปริมาณของเสียและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่บริการให้เช่าที่นอนภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนของเราจะช่วยลดลงในช่วงเวลาข้างหน้า ด้วยรูปแบบการประเมินวัฏจักรชีวิต (Life Cycle Assessment) โดยการประเมินดังกล่าวจะถูกจัดทำโดย สถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (สทสย.) และมีกำหนดแล้วเสร็จในเดือนพฤษภาคม 2565
นพพล เตชะพันธ์งาม ผู้ก่อตั้งและ CEO นอนนอน ในนิตยสาร ASEANFocus ฉบับ 1/2021
คลิก ที่นี่ เพื่ออ่านนิตยสาร ASEANFocus ฉบับปัจจุบันและที่ผ่านมา
นพพล เตชะพันธ์งาม ผู้ก่อตั้งและ CEO นอนนอน ได้รับเกียรติให้เข้าร่วมเสวนาในหัวข้อ “การเป็นผู้นำธุรกิจในระบบนิเวศเศรษฐกิจหมุนเวียนของไทย” (Thailand CE Ecosystem-Business Leadership) ในงาน Circular Economy Leadership & Partnership (CELP) Summit 2021 พร้อมกับตัวแทนผู้บริหารจาก บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) บริษัท แสงเจริญแกรนด์ จำกัด (SC Grand) และ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 18 มีนาคมที่ผ่านมา ณ โรงแรมสิวาเทล (Sivatel) กรุงเทพฯ
งาน CELP 2021 ถูกจัดขึ้นโดยแพลตฟอร์ม STEAM (STEAM Platform) ร่วมกับ สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) และ สำนักงานภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิกของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะเป็นเวทีให้ผู้นำอุตสาหกรรมได้มาแลกเปลี่ยนแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ให้นักวิจัยได้ลำดับความสำคัญของงานพัฒนาและวิจัยได้อย่างถูกต้อง ให้ผู้กำหนดนโยบายได้เร่งขับเคลื่อนการปฏิรูประบบเศรษฐกิจให้มีความหมุนเวียนมากขึ้น และเพื่อให้ประชาคมโลกได้ปรับการอุปโภคบริโภคให้เข้ากับแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน
นอนนอนได้รับเงินทุนสนับสนุนเป็นจำนวน 80,000 ปอนด์ (ประมาณ 3.5 ล้านบาท) จากราชวิศวกรรมศาสตร์บัณทิตยสถาน (Royal Academy of Engineering) สหราชอาณาจักร ผ่าน โครงการ Engineering X Transforming Systems through Partnership เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีอัพไซเคิล (upcycle) ซากฟองน้ำที่จะมาจากที่นอนที่พ้นสภาพการใช้งานแล้วที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยโครงการวิจัยดังกล่าวจะถูกดำเนินการโดยสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (Asian Institute of Technology) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (University of Cambridge)
โครงการ Engineering X Transforming Systems through Partnership ได้รับการดำเนินการโดยราชวิศวกรรมศาสตร์บัณทิตยสถาน สหราชอาณาจักร ผ่านการสนับสนุนจากกองทุนนิวตัน (Newton Fund) และความร่วมมือจากหน่วยงานด้านนวัตกรรมใน 6 ประเทศทั่วโลก โดยโครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ที่จะสร้างขีดความสามารถด้านการเรียนการสอนสาขาวิศวกรรมศาสตร์ การวิจัย และการสร้างนวัตกรรม ผ่านความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาด้านการพัฒนาทั้งในระดับโลกและระดับท้องถิ่น ระหว่างมหาวิทยาลัยในประเทศต่างๆ ที่เข้าร่วมโครงการ นักวิชาการในสหราชอาณาจักร และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียท้องถิ่นในแต่ละประเทศ
นพพล เตชะพันธ์งาม ผู้ก่อตั้งและ CEO นอนนอน ในนิตยสาร Tatler Thailand ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2564
ด้วยกำหนดรอบชิงชนะเลิศ ค่ายนวัตกรรมสตาร์ทอัพของสภาการท่องเที่ยวโลกแห่งลูเซิร์น ปี 2563 (World Tourism Forum Lucerne Start-up Innovation Camp 2020) ที่รัฐราสอัลไคมาห์ (Ras Al Khaimah) สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ได้ถูกเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด ในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา นอนนอนได้ตอบรับคำเชิญจากคณะผู้จัดงานฯ ให้สมัครเข้าร่วมค่ายฯ ปี 2564 ที่เมืองอันเดอร์แมท (Andermatt) ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ แทน
จากผลการสมัคร นอนนอนได้รับคัดเลือกเป็น 1 ใน 15 สตาร์ทอัพจากกว่า 450 สตาร์ทอัพที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวจาก 100 ประเทศทั่วโลกให้เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวในเดือนพฤศจิกายนนี้ โดยถือเป็น 1 ใน 3 สตาร์ทอัพศักยภาพสูงในประเภทธุรกิจที่ช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกให้กับสังคมและสร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Social Impact & Sustainability) ที่ได้รับโอกาสดังกล่าว
ค่ายนวัตกรรมสตาร์ทอัพฯ เป็นโครงการประจำปีของ สภาการท่องเที่ยวโลกแห่งลูเซิร์น แพลตฟอร์ม (platform) ชั้นนำจากสวิสเซอร์แลนด์ที่นำผู้บริหารระดับสูง รัฐมนตรี นักวิชาการ นักการเงิน ธุรกิจสตาร์ทอัพ และผู้นำรุ่นใหม่ มารวมตัวกันเพื่อพูดคุยถึงความท้าทายที่อุตสาหกรรมการเดินทาง การท่องเที่ยว และการโรงแรมจะต้องเผชิญ รวมทั้งเพื่อร่วมกันสร้างอนาคตที่มีความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ ค่ายดังกล่าวมีเป้าหมายที่จะกระตุ้นระบบนิเวศนวัตกรรมในอุตสาหกรรมฯ ด้วยการเชื่อมโยงผู้สร้างนวัตกรรมเข้ากับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในอุตสาหกรรมฯ และช่วยให้นวัตกรรมดังกล่าวได้รับการขยายผลและกลายเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาที่เป็นธุรกิจที่ดำเนินได้จริง
นพพล เตชะพันธ์งาม ผู้ก่อตั้งและ CEO นอนนอน ในรายการ 106กูรูทอลค์
ออกอากาศทางช่อง FM 106 MHz วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2564
'nornnorn' สตาร์ทอัพให้เช่าที่นอนคุณภาพสูง
นพพล เตชะพันธ์งาม ผู้ก่อตั้งและ CEO นอนนอน พูดคุยกับ TechNode ถึงที่มาที่ไปของนอนนอน
อ่านต่อ (ภาษาจีนเท่านั้น)